มือใหม่หัดตกปลา วิธีพายเรือคายัคให้เซียน

เรือคายัคนั้น เป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานกันอย่างยาวนานแล้ว ซึ่งชนพื้นเมืองที่เป็นนักล่าในเขตใต้อาร์กติกได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งาน โดยด้านบนของเรือมีลักษณะที่ปิด และจะมีผ้าในการใช้ปิดเรือกันน้ำเข้าเรือ แต่เรือคายัคนั้นก็สามารถพลิกคว่ำได้ง่าย ลักษณะของการพายเรือคายัคจะใช้ไม้พาย 2 อันในการพายเรือ โดยในปัจจุบันมีการใช้วัสดุในการออกแบบเรือหลายแบบหลายชนิดมากขึ้น ส่วนมากเรือคายัคนั้นจะสามารถบรรทุกคนได้มากสุด 2 คน ในการพายเรือคายัคนั้น ควรพายในบริเวณน้ำที่เป็นน้ำนิ่งและไม่เหมาะกับแหล่งน้ำที่เป็นน้ำเชี่ยวเช่น อ่างเก็บน้ำ หรือบึง

เรือคายัคที่เหมาะสำหรับการตกปลา

  • เรือคายัค Blue Runner รุ่น Pro Angler 310

เรือคายัครุ่นนี้ออกแบบมาให้มีขนาดที่ผอมเพรียวลงและมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมกันระหว่างความเร็วกับความสมดุลของการพายเรือ ซึ่งเรือตัวนี้นั้นถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์นักตกปลาอย่างแท้จริง โดยที่ตัวเรือนั้นจะมีจุดวางเบ็ดที่คอนโซลของกลางตัวเรือและยังมีที่สามารถเก็บอุปกรณ์ตกปลาขนาดเล็กกะทัดรัดเพิ่มความสะดวกสบาย ขนาดความกว้าง 310 เซนติเมตร ความยาว 76 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร น้ำหนักของเรือ 23 กิโลกรัมหรือ 50 ปอนด์ จำนวนที่นั่ง 1 ที่นั่งสามารถรับน้ำหนักได้มากสุด 170 กิโลกรัม

  • เรือคายัค Blue Runner รุ่น Driver Angler 320

เป็นเรือคายัคที่มี 1 ที่นั่ง และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาใจนักตกปลา เพราะว่าไม่ว่าจะยืนตก หรือจะนั่งตกก็ชิลล์ๆ สบายๆ เรือรุ่นนี้มาพร้อมกับเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง เรานั้นสามารถปรับเลื่อนตามความสะดวกของตัวผู้ใช้ และสามารถนั่งตกได้ทั้งวัน เพราะเรือรุ่นนี้มาพร้อมกับที่เสียบคันเบ็ดและช่องเก็บอุปกรณ์ตกปลา แถมยังมีที่เก็บของต่างๆ ไว้ได้อย่างเป็นระเบียบ และจุดเด่นของเรือคายัครุ่นนี้ มีเท้าปั่นที่คล้ายการปั่นจักรยานและมีหางเสือเพื่อบังคับทิศทาง ช่วยในการเคลื่อนที่ในตอนที่เราไม่อยากพายเอง ตัวเรือนั้นมีความแข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักที่พอเหมาะ ทำให้เคลื่อนตัวอย่างคล่องแคล่ว เร็ว ต่างจากเรือคายัครุ่นอื่นๆ ขนาดความกว้าง 320 เซนติเมตร ความยาว 83.5 เซนติเมตร และความสูง 43.5 เซนติเมตร ตัวเรือมีน้ำหนักอยู่ที่ 41 กิโลกรัม จำนวนที่นั่งมี 1 ที่นั่ง และสามารถรับน้ำหนักได้มากสุด 140 กิโลกรัม

  • เรือคายัค Blue Runner รุ่น Sit Driver Angler 310

เรือคายัครุ่นนี้เป็นเรือที่มี 1 ที่นั่ง เหมาะสมที่สุดสำหรับการตกปลา และมาพร้อมกับเก้าอี้มีพนักพิงที่เอาไว้นั่งตกปลาแบบชิลล์ๆ ตัวเรือมีที่เสียบคันเบ็ด และมีช่องเก็บอุปกรณ์ตกปลา และที่เก็บของสัมภาระอื่นๆ ในส่วนของตัวเรือนั้นมีความทนทาน และมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนที่ได้อยากรวดเร็ว และมีการบังคับเรือโดยหางเสือ สามารถพายไปตกปลา หรือจะชมวิว ธรรมชาติก็สบาย ใครต้องการฟังก์ชั่น 2 IN 1 แบบนี้ต้องจัด เรือคายัครุ่นนี้มีขนาดความกว้าง 310 เซนติเมตร ความยาว 84.3 เซนติเมตร และความสูง 36 เซนติเมตร น้ำหนักของตัวเรือ 25.5 กิโลกรัม มีที่นั่ง 1 ที่นั่ง และสามารถรับน้ำหนักได้ 200 กิโลกรัม

เทคนิคการพายเรือคายัคให้เซียนเหมือนเรียนมา

  1. เบรคเรือคายัคด้วยการจุ่มปลายไม้พาย

วิธีการเบรคหรือการชะลอความเร็วของเรือคายัคนั้นง่ายนิดเดียว อันดับแรก ผู้พายต้องใช้ไม้พายจุ่มลงไปในน้ำและจากนั้นให้ผลักไม้พายไปข้างหน้า และทำสลับทั้งข้างซ้ายและข้างขวา ไปเรื่อยๆ และสังเกตการณ์ลดความเร็วของเรือ ถ้าเรือชะลอความเร็ว เรือจะค่อยหยุดโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เบสิค แล้วเป็นวิธีเบรคเรือคายัคที่แสนจะง่ายดาย

  1. ต้องเหยียดขาตรงๆ ระนาบไปกับพื้นเรือ

การที่เราจะพายเรือคายัคไปอย่างง่ายดายและควบคุมให้เรือไปได้เร็วที่สุดเราจะต้องเหยียดขอตรงให้ระนาบกับพื้นเรือและใช้ไม้พายเรือสลับกันพาย ซ้ายและขวา ซึ่งการพายลักษณะนี้จะทำให้เรือนั้นเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วแล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และที่สำคัญเราจะต้องบิดตัวซ้ายขวาเพื่อรักษาสมดุลของเรือไม่ให้เอียงไปมา และการบิดตัวนั้นจะทำให้พายเรือคายัคได้ง่ายขึ้น

  1. การพายเรือให้เลี้ยวซ้ายหรือขวา

การเลี้ยวซ้าย เราจะต้องจุ่มไม้พายทางด้านขวาของตัวเรือ มือซ้ายอยู่ระดับแก้มของเรา จากนั้นให้เราผลักแขนซ้ายไปข้างหน้า และใช้แขนขวากวาดไม้พายไปด้านหลังจนสุด และค่อยๆ ยักขึ้น และทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้เรือนั้นเลี้ยวซ้าย

การเลี้ยวขวา เราจะต้องจุ่มไม้พายลงในน้ำทางด้านซ้าย และมือขวานั้นอยู่ในระดับแก้มพอดี จะนั้นเราจึงผลกแขนขวาไปข้างหน้าและใช้แขนซ้ายกวาดไม้พายไปด้านหลังจนสุด และค่อยๆ ยกขึ้น ทำแบบเดิมซ้ำๆ เพื่อให้เรือนั้นค่อยๆ เลี้ยวขวา

ข้อควรระวังในการพายเรือคายัคและเรื่องความปลอดภัย

  • การเตรียมเสื้อชูชีพและอย่าลืมสวมเสื้อชูชีพ

นอกเหนือจากการตรวจสภาพเรือและการเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นนั้น เราจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยการสวมเสื้อชูชีพ เพราะการสวมเสื้อชูชีพนั้น ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เราควรที่จะต้องเซฟเพื่อความปลอดภัย เหตุการณ์ที่ผิดพลาดอย่างเช่น เรือล่ม เรือรั่ว ถ้าเกิดอุบัติเหตุลักษณะนี้อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราสวมเสื้อชูชีพอยู่ ชูชีพจะช่วยให้ร่างกายของเราลอยอยู่บนผิวน้ำไม่จมน้ำ

  • ควรรักษาน้ำหนักเรือไม่ให้มากเกินไป

ในการพายเรือตามสถานที่ต่างๆ ภายในเรือนั้นจะระบุอย่างชัดเจนว่าเรือลำนั้น สามารถรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ หรือห้ามเกินเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราต้องทำตามที่คู่มือเรือนั้นระบุไว้อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าเรือนั้นรับน้ำหนักเกินกว่าที่เรือจะรับได้หรือมีการจำกัดน้ำหนัก ไม่ว่าจะการที่ตัวเราน้ำหนักเยอะ หรือของที่เราเอาขึ้นเรือนั้นบวกกับน้ำหนักตัวเรา รวมแล้วเยอะเกินกว่าที่กำหนด อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เช่นเรือจมน้ำ เรือล่ม ดังนั้น เราจะต้องคำนวณน้ำหนักทั้งน้ำหนักตัวเราเองและน้ำหนักสัมภาระ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้รอบคอบ

  • การเช็คอุปกรณ์ให้มีความพร้อมที่จะใช้งาน

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นการพายเรือคายัคทุกๆ ครั้งเราจะต้องตรวจเช็คว่าเรือและอุปกรณ์ที่จะใช้งานในการพายเรือนั้นมีความพร้อมหรือไม่ และในส่วนของเรือเราก็ต้องตรวจเช็คสภาพความพร้อมของเรือว่าควรใช้งานหรือพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ และไม้พายจะต้องมีสภาพที่ดี พร้อมใช้งาน แข็งแรง นอกจากนั้นเราจะต้องไม่ลืมถุงกันน้ำหรือกระเป๋าที่สามารถกันน้ำได้ นอกจากนี้ก็ตรวจเช็คอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ใส่ไว้บนเรือด้วย