“ประสาทสัมผัสของปลา” อีกเรื่องควรรู้สำหรับนักตกปลามืออาชีพ

ต้องยอมรับเลยว่าการก้าวขึ้นมาสู่การเป็นนักตกปลาในระดับมืออาชีพนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้หลากหลายสิ่งด้วยกัน เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับการตกปลาค่อนข้างเยอะ หากเราไม่พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจจะทำให้การตกปลาไม่ประสบผลสำเร็จดั่งที่คาดหวังเอาไว้ จึงควรหมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ แต่นอกเหนือจากการศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคในการตกปลาแล้ว หลายคนอาจจะลืมไปว่าเราควรศึกษาเกี่ยวกับตัวปลาด้วยเช่นกัน ทางเราจึงอยากพามาศึกษาถึง “ประสาทสัมผัสของปลา” ให้ทุกคนรับทราบ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตกปลาบ้างไม่มากก็น้อย

เมื่อพูดถึงประสาทสัมผัสของปลาขึ้นมาเมื่อไหร่ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกันมาก่อน เพราะอาจจะไม่เคยศึกษาในประเด็นเหล่านี้ แต่จะดีกว่าหรือไม่หากคุณมีความรู้อย่างละเอียดในเรื่องนี้ การตกปลาคงมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากคุณทราบถึงประสาทสัมผัสต่างๆ ของปลา แน่นอนว่าทางเรานำข้อมูลมาฝากกันเรียบร้อยแล้ว ให้คุณลองไปศึกษากันได้เลย รับรองความรู้ดังกล่าวจะต้องช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยประสาทสัมผัสจะมีอะไรบ้างนั้น ลองมารับชมไปด้วยกันเลย

ประสาทสัมผัสต่างๆ ของปลา ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

  • การรับกลิ่น

มาเริ่มต้นกันด้วย “การรับกลิ่น” ซึ่งปลาทุกๆ สายพันธุ์จะมีจมูกไว้สำหรับการรับกลิ่นคล้ายกับสัตว์บก แต่จมูกดังกล่าวไม่สามารถใช้หายใจ เพราะโดยส่วนใหญ่ปลาจะหายใจด้วยเหงือก จมูกของปลาจึงไม่ต่อติดกับคอหอย โดยหากจะถามถึงหนึ่งในปลาที่ประสาทรับกลิ่นดีที่สุด คงจะไม่พ้นปลาฉลาม ที่สามารถดมกลิ่นเลือดได้จากระยะทางไกลๆ พวกมันจึงสามารถพุ่งเข้าทำร้ายเหยื่อได้จากการดมกลิ่นเลือด เหมือนกับที่พวกเราเคยเห็นผ่านทางภาพยนตร์เรื่องต่างๆ นั่นเอง แต่ถึงอย่างไรปลาชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากปลาฉลาม ก็นับว่ามีประสาทรับกลิ่นยอดเยี่ยมพอสมควรเหมือนกัน ถ้าเกิดปลาชนิดใดก็ตามสัมผัสถึงกลิ่น มีความเป็นไปได้ว่ามันจะมุ่งหน้าไปหาสิ่งนั้น

  • การใช้สายตา 

ประสาทสัมผัสส่วนต่อมาของปลา คือ “สายตา” โดยจากข้อมูลพบว่าตาปลาจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสัตว์จำพวกมีกระดูกสันหลังมากเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เพื่อปรับตัวให้สามารถมองเห็นในน้ำ ขณะที่ผนังภายนอกของตาปลาจะแบนกว่าสัตว์บกอยู่ประมาณนึง รวมถึงเลนส์ของตาปลาจะค่อนข้างกลมกว่าอีกด้วย หากลองไปดูผลการวิจัยต่างๆ จะบ่งชี้ตรงกันว่าปลาส่วนใหญ่มีสายตาสั้น แต่จากผลการทดลองดูเหมือนปลาจะสามารถจดจำสีได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ขณะที่ปลาสายพันธุ์ไหนอาศัยอยู่ภายในน้ำขุ่น ก็จะมีดวงตาขนาดเล็กลงไป ดังนั้นเอาเป็นว่าใครอยากให้การตกปลาของตัวเองมีความชำนาญยิ่งขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการมองเห็นของปลาก็เป็นอีกสิ่งที่มิอาจหลีกหนี

  • การรับฟัง

เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าปลาไม่มีหูส่วนนอก และส่วนกลาง ดังเช่นเดียวกับจำพวกสัตว์ชั้นสูง โดยจะมีแค่หูส่วนในเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งมีส่วนช่วยต่อการทรงตัวได้ค่อนข้างดี ขณะที่ปลาชนิดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ปลาดุก ปลาไน และปลาตะเพียน ล้วนแล้วแต่มาพร้อมกับกระเพาะลมที่มีกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยเชื่อมต่อกับหู จึงทำให้ปลาที่กล่าวมามีความไวต่อแรงสั่นสะเทือนใต้ผิวน้ำ อีกทั้งปลาหลากหลายสายพันธุ์มักจะมีเส้นข้างตัว หรือเรียกว่า “lateral line system” จึงส่งผลให้ปลาสามารถมีความรู้สึกต่อแรงสั่นสะเทือนใต้ผิวน้ำได้ดีมากๆ ดังนั้นหากเราทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนตรงบริเวณพื้นผิวน้ำ ปลาพวกนี้จะรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจจะมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของพวกมัน

  • การรับรสชาติ

ในส่วนของ “การรับรส” ของปลา นับว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งปลาบางชนิดสามารถรับรสได้ด้วย โดยเฉพาะจำพวกปลาตะเพียน สามารถรับรสได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เพียงแต่การรับรสที่กล่าวมา จะแตกต่างไปจากสัตว์ชนิดอื่นๆ อยู่พอสมควร เพราะปลาส่วนใหญ่อาจจะรับรสด้วยอวัยวะพิเศษต่างๆ จุดรับรสสามารถอยู่ทั้งบนหนวด บนหัวปลา หรือแม้กระทั่งบนตัวปลา โดยในบริเวณส่วนดังกล่าวจะมีปุ่มรับรส หรือที่เรียกว่า “taste bud” อยู่ด้วย ทำให้มันสามารถรับรู้ถึงรสชาติของอาหารได้ อย่างไรก็ตามปลาในหลายๆ สายพันธุ์ หาใช่ว่าจะมีปุ่มรับรสเหมือนกับปลาตะเพียน พวกมันจึงไม่สามารถรับรู้ถึงการลิ้มลองรสชาติอาหาร

  • การรับสัมผัส

ต้องยอมรับว่าในโลกใบนี้ มีสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ที่สามารถรับสัมผัสได้ดีมาก โดยปลาถือว่าเป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งอวัยวะในการรับสัมผัสจะมีอยู่บนส่วนต่างๆ ของตัวปลา ไม่ว่าจะเป็นบนผิวหนัง ตรงบริเวณหนวด หรือแม้กระทั่งส่วนครีบของปลา แน่นอนว่าปลาในบางสายพันธุ์จะมีการหาเหยื่ออยู่เสมอ แต่พวกมันจะตามหาเหยื่อตรงบริเวณพื้นผิวน้ำ ด้วยการใช้อวัยวะรับสัมผัสที่กล่าวมา หากพวกมันสามารถรับสัมผัสของอาหารได้ พวกมันก็จะมุ่งจู่โจมสิ่งนั้นในที่สุด จึงไม่แปลกหากจะมีคนนำจุดเด่นของปลาตรงส่วนนี้ มาปรับใช้สำหรับการตกปลา จากที่ลองไปสืบๆ มา พบว่ามีนักตกปลาที่สามารถล่อปลาได้สำเร็จ โดยการอาศัยการรับสัมผัสของปลา