ปลาทะเลนักตกปลาไทยนิยมบริโภคกันบนเรือ

ในร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยหลายๆที่ด้วยกันรวมถึง ร้านอาหารทะเลต่างๆ เริ่มมีการนำวัตถุดิบในประเทศมาประกอบอาหาร นั้นก็คือ การนำปลาและสัตว์ทะเล มาทำเป็นเมนูซาซิมิ กันนั้นเอง โดยวิธีการกินเหล่านี้มีในนักประมงไทยและนักตกปลากันมาอย่างยาวนานแล้วสำหรับการนำปลาหรือสัตว์ทะเลที่ตกมาได้มารับประทานกันบนเรือ ทั้งแบบสุกและแบบดิบ แต่จะมีปลาชนิดไหนหรือสัตว์ทะเลอะไรที่ตกได้แล้วนำมารับประทานกันบนเรือบ้างนั้นไปดูกันเลย

มาเริ่มกันที่ชนิดแรก “ปลาช่อนทะเล” ต้องบอกเลยว่าการที่นักตกปลานั้นตกได้ปลาช่อนทะเลสักตัวนับว่าเป็นลาภปากเลยทีเดียว ในสมัยก่อนนั้นปลาช่อนทะเลนั้นเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีมูลค่าทางการค้าเลยเสียด้วยซ้ำโดยราคาขายในสมัยก่อนนั้นมีมูลค่าที่กิโลกรัมละ 60 บาทเพียงเท่านั้น ซึ่งต่างจากในสมัยนี้มากที่มูลค่าของปลาช่อนทะเลนั้นเพิ่มขึ้นมาหลายเท่าตัว ซึ่งการนำปลาช่อนทะเลมารับประทานแบบซาซิมิ นั้นแต่เดิมก็เริ่มมาจากชาวประมงที่นิยมรับประทาน และบอกต่อกันในรสชาติของความอร่อยของเนื้อปลา จนมาสู่การลิ้มลองของนักตกปลาและได้เป็นที่รู้จักกันจนนำมาขึ้นโต๊ะอาหาร เป็นซาซิมิแบบปลาไทย เพิ่มมูลค่าให้กับปลาอย่างไมน่าเชื่อ รสชาติของปลาช่อนทะเลนั้น มีความหวานเล็กน้อย แต่มีสัมผัสที่แน่นและเด้งสู่ฟัน

มาต่อกันที่ “ปลาทูน่าไทย” อย่าพึ่งเข้าใจผิดกันไปว่า ปลาทูน่าที่พูดถึงคือของดีเมืองแม่กลองหรือของโปรดของน้องแมวที่ใครหลายคนชอบพูดกัน แต่มันคือปลาทูน่าแบบร้านอาหารญี่ปุ่นเนื้อสีแดงที่แน่น จืดไม่กรอบแต่ทำเป็นซาซิมิแบบเพลินๆแต่ไม่เลี่ยน หลายคนอาจจะแปลกใจหรือนักตกปลาบ่างท่านนั้นอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีปลาชนิดนี้อยู่ที่น่านน้ำไทย แต่ทะเลไทยนั้นก็สามารถเชื่อมไปถึงทะเลญี่ปุ่นด้วยเช่นกันและในวัยเด็กของปลาทูน่ารุ่นลูกก็จะมีการเดินทางจากแถบทะเลไทยจนได้เดินทางไกลไปเติบโตถึงญี่ปุ่น เป็นเจ้ามากุโร่ไซต์ยักษ์จนคนตะลึงกันนั้นเอง โดยน่าน้ำของประเทศไทยบ้านเรานั้นก็จะสามารถจับปลาทูน่าได้อยู่ที่ราวๆตัวละ 3-4 กิโลกรัม เท่านั้น

“ปลาพิงกี้ หรือ ปลาพลอยชมพู” หลายคนนั้นจะไม่ค่อยรู้จักนัก แต่เหล่าชาวประมงและนักตกปลาในบางกลุ่มนั้นจะรู้จักกัน ด้วยความที่เป็นปลาที่เนื้ออร่อยเป็นอย่างมาก บางคนนั้นจะบอกว่ารสชาติของมันนั้นคล้ายคลึงกับปลาซัคเกอร์ ที่ทั้งหวานและกรึบอร่อย แต่เนื้อของปลาชนิดนี้จะนุ่มและไม่สู้ฟันเท่าปลาซัคเกอร์เท่าไหร่นัก สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักปลาชนิดนี้ก็เป็นเพราะมันจะอยู่ที่ระดับความลึก 150 เมตร ลงไปเท่านั้น และสีสันของมันก็เป็นสีชมพูสดใสทั้งตัว จนหลายคนนั้นเห็นแล้วก็เกิดความสงสัยและประเด็นดราม่ากันขึ้นว่ามันเป็นปลาอนุรักษ์หรือปลาหายากหรือไม่ แต่นักวิชาการก็ได้ออกมาบอกว่าสำหรับปลาชนิดนี้แล้วเพราะอยู่ในเขตน้ำลึกเลยไม่นิยมจับกันมารับประทาน และสามารถรับประทานได้ ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์

“ปลาเก๋าเพลิง หรือ ปลาเก๋าแดง” ไม่มีใครนั้นจะไม่รู้จักในความอร่อยของปลาเก๋า จนทำให้ทั้งนักตกปลาและคนไทยเอง นอกจากจะนำมาทำเป็นข้าวต้มหรือประกอบเมนูอื่นแล้วนั้น ยังเอามาทำเป็นซาซิมิอีกด้วย ทั้งความแน่นเคี้ยวเพลินของเนื้อและความหวาน จึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

“ปลากุดสลาด” นับว่าเป็นปลาที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบและนิยมรับประทานเป็นอย่างมาก รวมไปถึงนักตกปลาและชาวประมงที่เดินเรืออีกด้วย เนื้อและหน้าตาของมันยังคล้ายคลึงกับปลาเก๋ามากอีกด้วย แต่ในส่วนของรสชาตินั้นปลากุดสลาดจะมีความหวานน้อยกว่าปลาเก๋าแดง และมีความหนึบหนับนุ่มกว่าปลาเก๋าแดง

“ปลาโฉมงาม” บางคนนั้นอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อปลาชนิดนี้นักแต่ก็พึ่งเป็นกระแสเมื่อไม่นานมานี้ในเรื่องของความแน่นหนึบ ของเนื้อปลากับเมนูซาซิมิของนักตก โดยเมื่อปรุงให้สุกแล้วไม่ว่าจะเป็นแกง หรือ ทอด ปลาชนิดนี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องความแน่นของเนื้อและความหวานฉ่ำมากเลยทีเดียว

“ปลาอินทรี” ปลาครูของนักตกปลาหลายๆท่าน และปลาที่นักตกปลาทะเลมือใหม่ทั้งหลายอยากทำการวัดฝีมือ โดยคนไทยนั้นจะคุ้นชิ้นกับการที่นำปลาชนิดนี้ไปทอด ไปแกง หรือแม้กระทั้งปลาเค็มที่เป็นเครื่องเคียงของข้าวต้มแสนอร่อย สำหรับปลาอินทรีนั้นเรียกได้ว่าเป็นประเศรษฐกิจของหลายประเทศด้วยกัน รวมไปถึงการนิยมบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันในประเทศขอเรา ทำให้ราคานั้นสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก โดยหลายคนอาจจะเคยรับประทานปลาชนิดนี้ในรูปแบบที่ปรุงสุกมาแล้ว และอาจจะคิดว่าเนื้อของมันนั้นจะสากหรือไม่แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลาชนิดนี้นั้น หนึบหนับกรุบกรับสู้หัน เนื้อแน่นมากเลยทีเดียว โดยที่ใครได้ลิ้มลองแบบซาซิมิแล้วนั้นก็ต่างติดอกติดใจกัน เป็นยังไงกันบางสำหรับปลาซาซิมิ