ทำความรู้จักกับปลาอินทรี ฤดูตกปลาอินทรีในประเทศไทย

หากพูดถึงการตกปลาทะเลในประเภทเกมหรือเชิงกีฬา ในรูปแบบของปลาที่สามารถรับประทานได้และนิยมเป็นอย่างมากนั้น คงหนีไม้พ้น ปลาอินทรี ซึ่งสำหรับปลาชนิดนี้แล้วนั้นเรียกได้ว่านิยมบริโภคและเป็นปลาเศรษฐกิจในลำดับต้นๆของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะนำมาทำปลาเค็ม นำมาแกง นำมาทอด ก็สามารถที่จะประกอบอาหารออกมาได้สารพัดเมนูเลยทีเดียว

สำหรับนักตกปลาทะเลชั้นเซียนหรือนักตกปลารุ่นเก๋านั้น ต้องเคยที่จะทำการตกปลาอินทรีกันมาบ้างแล้ว และนักตกปลาหน้าใหม่ต่างก็อยากที่จะลองทำการตกมันดูบ้างสักครั้งนึง เพราะการตกปลาอินทรีนั้น เปรียบเสมือนการตกปลาชั้นครูเลยก็ว่าได้ นักตกปลาทะเลหลายคนนั้นถึงกับรอคอยฤดูกาลในการตกปลาอินทรีเป็นประจำทุกปีเพื่อที่จะได้ตกมันเลยทีเดียว

ตกปลาอินทรีในประเทศไทย เริ่มตกกันตามฤดูกาลของปลา

 โดยจะเริ่มกันตั้งแต่บริเวณอ่าวทะเลไทยในตอนบน ในช่วงของเดือนกันยายน ไล่ตั้งแต่ จังหวัดตราด มาจนถึง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง มาจนถึงจังหวัดชลบุรี โดยหมายที่นิยมตกในจังหวัดชลบุรีก็จะมีที่ อำเภอสัตหีบ แสมสาร และอำเภอศรีราชา เกาะสีชัง เป็นต้น ในส่วนของทะเลอ่าวไทยในตอนล่างนั้น จะมีการเริ่มกันตั้งแต่ในช่วงของปลายเดือนมกราคม โดยจะไล่ขึ้นไปที่จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง ไปจนจังหวัดสงขลา และจะสิ้นสุดที่จังหวัดสุดท้าย คือ จังหวัดปัตตานี โดยจะสิ้นสุดในช่วงเดือนเมษายนนั้นเอง

ส่วนในฝั่งของทะเลอันดามันนั้น จะมีการเริ่มกันที่จังหวัดระนอง โดยจะเริ่มกันประมาณในช่วงเดือยกุมภาพันธ์ ไล่ไปยัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก๊ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล จะถือเป็นจังหวัที่สิ้นสุด การตกปลาอินทรีในฝั่งของทะเลอันดามันโดยจะสิ้นสุดประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม

แต่ทั้งนี้แล้ว ช่วงเดือนและช่วงของเวลาที่ผู้เขียนได้บอกไปนั้นไม่แน่นอนนัก เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายด้านด้วยกัน ทั้งสภาพแวดล้อมในช่วงนั้น สภาพภูมิอากาศ สภาพน้ำและแหล่งอาหารที่เกิดขึ้นในปีนั้น เพราะต้องบอกเลยว่าทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีนั้นก็ย่อมหมดไปได้เช่นกัน ไหนจะจำนวนปลาอินทรีที่อพยพเข้ามาในแต่ละปีนั้นก้ต้องผ่านประเทศอื่นมาก่อนเช่นกัน เราเลยไม่อาจะทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมันมากจะเดินทางและอพยพมาในช่วงเดือนดังกล่าวของทุกปี เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าพวกมันนั้นอาศัยอยู่ในแถบของทะเลเปิด ทั่วโลกรวมไปถึงเขตร้อนและเขตอบอุ่น ปลาอินทรีนั้นเรียกได้ว่าเป้นปลาที่ไม่มีแหล่งอาศัยเป็นหลักแหล่งเลยก็ว่าได้เพราะมีการเคลื่อนย้ายอพยพไปตามวงจรชีวิตของมัน ซึ่งวงจรชีวิตของมันนั้น คู่การจับคู่ผสมพันธุ์เพื่อวางไข่ และ เติบดตเจริญวัยเพื่อที่จะได้เดินทางไปตามฤดูกาลนั้นเอง โดยพวกมันมักจะอยู่กันเป็นฝูง โดยในประเทศไทยของเรานั้น จะมีปลาอินทรีที่เห็นได้มากอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน นั้นก็คือ ปลาอินทรีบั้ง และปลาอินทรีจุด ถึงแม้ว่าปลาอินทรีนั้นจะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีการค้นพบปลาอินทรีในบางชนิดที่บริเวณเขตปากแม่น้ำหรือบริเวณน้ำกร่อย และ น้ำจืดอีกด้วย นั้นก็คือปลาอินทรีที่เรียกกันว่า ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร โดยบางส่วนของพวกมันนั้นได้มีการอาศัยอยู่ที่ปากแม่น้ำโขง และทะเลสาบในเขมรอีกด้วย ซึ่งสำหรับปลาอินทรีทะเลสาบเขมรนั้นเคยถูกตกได้ในประเทศไทยบ้านเรา และรูปร่างหน้าตาของมันทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นปลาอินทรีญี่ปุ่น(อยู่ในฝั่งทะเลจีนใต้)อีกด้วย

วิธีตกปลาอินทรีในประเทศไทย(แบ่งเป็น 3 โซนด้วยกัน)

– การตกปลาอินทรี ในทะเลอ่าวไทยในตอนบน ทางจังหวัดในแถบอ่าวไทยในตอนบนส่วนใหญ่นั้นจะเลือกใช้วิธีการตกแบบเข้าหาฝูงปลาโดยตรงโดยจะทำการปล่อยเหยื่อเป็น หรือลูกปลาแบบเป็นๆ (บางทีก็จะเหยื่อตาย) ในการที่จะล่อปลาอินทรีที่กำลังเดินทางรวมฝูงอยู่ให้แตกออกมาเพื่อที่จะกินเหยื่อ อาจจะมีการลากเหยื่อบ้างในบางกรณี ไม่ว่าจะเป้นเหยื่อที่เป็นหรือตายเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจให้ปลาในฝูงแตกตัวออกมากินเบ็ด

– การตกปลาอินทรี ในทะเลอ่าวไทยในตอนล่าง ทางจังหวัดในแถบอ่าวไทยในตอนล่างนั้นมีความนิยมเป้นอย่างมากที่จะใช้เหยื่อตาย และใช้วิธีการแบบลากเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นการลากเหยื่อลูกปลาที่ตายแล้ว ผ่านแหล่งที่คาดว่าปลาอินทรีน่าจะทำการอาศัยอยู่ ไปจนถึงการลากผ่านฝูงปลาที่กำลังทำการว่ายอยู่เพื่อเบี่ยงเบนปลาให้มาติดเบ็ดเลยก็มี สำหรับในกรรมวิธีการลากเหยื่อนั้น สามารถที่จะใช้เหยื่อปลอมก็ได้ผลดีเช่นกัน

– การตกปลาอินทรี ในแถบของทะเลอันดามัน จะนิยมการลากเหยื่อเช่นเดียวกับอ่าวไทยตอนล่าง แต่จะเน้นไปทางเหยื่อปลอมมากกว่าการเลือกใช้เหยื่อตาย และในการตกปลาแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้มีการเฉพาะเจาะจงที่จะตกปลาอินทรีเพียงอย่างเดียว

โดยในฤดูตกปลาอินทรี วันที่ 25 มีนาคม 2561 นั้น ที่จังหวัดภูเก็ต ในการแข่งขันตกปลาครั้งที่ 9 ของจังหวัดซึ่งอยู่ในฝั่งของทะเลอันดามันนั้น มีนักตกปลาที่มีชื่อว่า “ตี๋น้อย” จากแพแสงอรุณ สามารถที่จะทำการตกปลาอินทรี คว้าแชมป์ชนะเลิศประเภทปลาเกมน้ำหนักสูงสุดในการแข่งขัน ซึ่งปลาอินทรีที่ตี๋น้อยทำการตกได้นั้นมีน้ำหนักมากถึง 72.5 กิโลกรัม เป็นปลาอินทรีในสายพันธุ์เซียฟิซ โดยเป็นปลาน้ำลึก ในตระกูลปลาแมคคอเรลที่มีชื่อเสียงระดับโลกและจากประวัติของมันนั้นมีการเข้ามาหากินในบริเวณน้ำตื้นในต่างประเทศหลายครั้งแต่ยังไม่เคยมีใครนำมันขึ้นมาได้ ประธานชมรมการตกปลาในจังหวัดภูเก็ตยังมีการเปิดเผยอีกด้วยว่า ปลาอินทรีตัวนี้เป็นปลาที่ตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่นักตกปลาในประเทศไทยนั้นสามารถที่จะตกได้ ทั้งยังมีการพบว่าหากดูจากน้ำหนักแล้วนั้น ปลาอินทรีตัวนี้จัดอยู่ในประเภทของปลาที่ใหญ่ที่สุดในการตกได้เป็นอันดับที่ 3 ของ เอเซีย โดยที่ปลาตัวดังกล่าวนั้นได้มีคนประมูลไปที่ราคา 55,000 บาทเลยทีเดียว